การคิดวิพากษ์เพื่อการแก้ไขปัญหาเชิงรุก

     "การตัดสินใจ” เป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น บ่อยครั้งที่ต้องตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆในการดำเนินงานขององค์กร บางครั้งที่ข้อมูลและสถานการณ์ไม่เปลี่ยน แต่ระบบความคิดที่เปลี่ยนไปจะส่งผลต่อการตัดสินใจที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะระบบความคิดแบบ Critical Thinking ที่ต้องการความรอบคอบและการมองให้รอบด้าน และพยายามหามุมโต้แย้ง ทำให้เกิดมุมมองและทางเลือกใหม่ๆในทางออกของปัญหานั้นๆและส่งผลต่อการตัดสินใจที่ดีขึ้น

 

     หลักสูตรนี้ ประยุทต์กระบวนการคิด แบบต่างๆ และรูปแบบของกรอบการตัดสินใจ

เข้าใจถึงหลักในการวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อตัดสินใจ โดยคำนึงถึงผลการตัดสินใจที่จะเกิดขึ้นเป็นสำคัญ

 

วัตถุประสงค์  เพื่อให้เข้าใจ

1. การคิดวิพากษ์และแนวทางหลักในการการนำหลักคิดมาใช้แก้ปัญหาต่างๆให้ประสบความสำเร็จ

2. เข้าใจประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง และกระตุ้นให้เกิดคำถามอยู่เสมอ ให้สงสัยในสิ่งที่ได้ยิน ได้เห็น ได้อ่าน และสำรวจความคิดของตนเอง กับการจัดการงาน และวางแผนทำงานเชิงรุก

3. หลักการใช้เหลักคิดและกระบวนการคิดวิพากษ์เพื่อแก้ปัญหาเชิงรุกและการนำหลักคิดไปใช้ในการดำเนินงาน

 

เนื้อหาการเรียนรู้

1. เข้าใจหลักคิดเชิงวิพากษ์ เพื่อการแก้ปัญหาเชิงรุก

- กระบวนการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา

       - ยุทธวิธีการคิดวิพากษ์ เพื่อวิเคราะห์ ประเมินปัญหา และตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

       - การระบุและคิดทบทวนปัญหา (Redefine the problems)          

       - คิดอย่างมีวิจารณญาณ (Adopt a critical perspective)

       - ใช้หลักการของเหตุผล (Use analogies)

       - คิดหลากหลาย (Think divergently)

       - ใช้แนวคิดแบบองค์รวม (Use heuristics)

       - ทดลองแก้ปัญหาหลายๆ แบบ (Experiment with various solutions)

2. วิธีการฝึกทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ เพื่อกระตุ้นให้ค้นหาตำตอบที่แท้จริงเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

- การรู้จักสังเกตและสงสัย ข้อเท็จจริงและความคิดเห็น ตรรกะและ เหตุผลวิบัติ

- เทคนิคการตั้งคำถาม: หัวใจสำคัญของการคิดเชิงวิพากษ์

- การรับฟังอย่างมีวิจารณญาณและการโต้แย้งด้วยเหตุผล

- แนวทางในการวัดหรือประเมินผลทักษะการคิดเชิงวิพากษ์

- ประยุกต์การคิดเชิงวิพากษ์กับการทำงานเพื่อการแก้ปัญหาเชิงรุกและการทำงานอย่างมีความหมาย (Meaningful working)

 

กลุ่มผู้เข้าอบรม     ผู้นำหรือผู้บริหารขององค์กร

กิจกรรม และ Workshop

Inspiring Workshop:   กิจกรรมสำรวจความคิดของตนเองต่อความท้าทายของธุรกิจในยุคดิจิตอล เปิดโอกาสให้อภิปรายแสดงความเห็นอย่างอิสระในลักษณะ ระดมสมองพร้อมกับยอมรับความคิดเห็น ของทุกคน

 

แนวทางการสอนและรูปแบบการเรียนรู้

ทฤษฎี 30% : ปฏิบัติ 70%

บรรยาย : ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรม

กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด : ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”

ตัวอย่าง/กรณีศึกษาประกอบ : เพื่อเห็น “ภาพที่ชัดเจน” ยิ่งขึ้น  

    การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่และการฝึกประสบการณ์ (Adult Learning & Experiential Learning) ด้วยวิธีการบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติ เน้นการบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรมการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที

     เนื้อหาของโปรแกรมมีทั้งการบรรยายให้มุมมองหลักคิดผ่านกิจกรรมกลุ่ม และเดี่ยว การฝึกปฏิบัติการ (Work Shop), กรณีศึกษาและสถานการณ์จำลอง (Case Study and Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

Visitors: 255,895